ผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน
top of page

ผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน


ผื่นกุหลาบ

หน้าฝน มักจะมาพร้อมกับโรคผิวหนัง โดยเฉพาะ "ผื่นกุหลาบ" หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ "ผื่นร้อยวัน"

แม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถหายเองได้ แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแท้ง โดยเฉพาะช่วง 15 สัปดาห์แรก

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาทำความรู้จักและเตรียมรับมือผื่นชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ

สาเหตุและลักษณะของผื่นกุหลาบ

โรคผิวหนังชนิดนี้ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะเกิดจากอาการเป็นผื่นเฉียบพลัน และอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส โดยจะมีลักษณะเป็นรูปวงรี รูปไข่หรือวงกลม ตรงกลางของผื่นจะมีรอยย่น สีคล้าย ๆ สีแซลมอน เห็นขอบผื่นชัด โดยจะแยกออกเป็น 2 ช่วง

ผื่นปฐมภูมิ เกิดช่วง 1 สัปดาห์แรกหรือนานกว่านั้น มักจะมีผื่นขนาด 2-6 เซนติเมตร จำนวน 1 ผื่น

ผื่นทุติยภูมิ จะเกิดขึ้นหลังจากผื่นปฐมภูมิ มีขนาดเล็กกว่า ประมาณ 0.5 - 1.5 เซนติเมตร

บริเวณหน้าอก หน้าท้อง หลัง คอ ต้นขาและต้นแขน ตามแนวรอยพับของผิวหนังคล้ายต้นคริสต์มาส

ในบางรายอาจมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร

กลุ่มคนที่มักเป็นผื่นกุหลาบ

โดยส่วนใหญ่พบในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 15 - 40 ปี อาจจะพบในเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุเช่นกัน

ผื่นกุหลาบ

วิธีการดูแลรักษาโรคผื่นกุหลาบ

  • ไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจัด เนื่องจากอาจกระตุ้นให้ผื่นเห่อมากขึ้นกว่าเดิมได้

  • หลีกเลี่ยงการมีเหงื่อออก การใช้สบู่ที่อาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แนะนำให้ใช้สบู่เด็ก หรือผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว

  • ตากแดดทุกวันประมาณ 3-5 นาที ในช่วงเวลา 10 โมงเช้า - บ่าย 2 เพื่อให้ร่างกายได้รับ รังสี UVB ในการบรรเทาโรคผื่นกุหลาบ

อย่างไรก็ตาม โรคผื่นกุหลาบ หากเป็นแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันไว้ถาวร หากเป็นแล้วอย่าเพิ่งเป็นกังวลไปนะคะ เราต้องใช้เวลาในการรักษา และหมั่นดูแลทำความสะอาดร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผื่นกุหลาบ

bottom of page