กลาก เกลื้อน ในเด็ก มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไร
top of page

กลาก เกลื้อน ในเด็ก มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

ผื่นวงกลม ผิวลอก ขุยขาว หรือรอยด่างขาวบนผิวลูกน้อย อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก จะใช้กลาก เกลื้อน หรือไม่ แล้วทั้ง 2 อย่างนี้คือโรคเดียวกันหรือไม่ หรือมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้เราขอชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับ “ กลาก เกลื้อน ” ในเด็ก พร้อมวิธีดูแลที่ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้ลุกลามและกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งกันดีกว่า

กลาก เกลื้อน

กลาก เกลื้อน คืออะไร

“ กลาก ” และ “ เกลื้อน ” เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ที่เป็นคนละโรคกัน อธิบายได้ดังนี้

  • กลาก (Ringworm / Tinea) : เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes มักพบบริเวณที่ผิวหนังเปียกอับชื้น เช่น ขาหนีบ แขน ขา หนังศีรษะ ฯลฯ

  • เกลื้อน (Tinea versicolor) : เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม Malassezia ที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนผิว แต่เติบโตมากผิดปกติ ทำให้เกิดรอยด่างขาวหรือคล้ำ


แม้ทั้ง 2 โรคนี้มีชื่อที่คล้ายกัน แต่สาเหตุ ลักษณะผื่น และบริเวณที่พบบนร่างกายที่แตกต่างกันออกไป



กลาก เกลื้อน ความแตกต่าง

ความแตกต่างของ กลาก เกลื้อน ในเด็ก

กลาก (Ringworm / Tinea)

  • ต้นเหตุ : เชื้อรา Dermatophytes

  • ลักษณะของผื่น : ผื่นวงกลม แดง มีขอบนูน ผิวลอก ขุย

  • อาการร่วมอื่นๆ : คันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน

  • บริเวณที่พบบ่อย : ศีรษะ แขน ขา ลำตัว ขาหนีบ

  • การติดต่อ : ติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง หรือการใช้ของร่วมกัน

  • การลุกลาม : หากไม่รักษา อาจลุกลามและแพร่กระจายได้


เกลื้อน (Tinea versicolor)

  • ต้นเหตุ : เชื้อรา Malassezia

  • ลักษณะของผื่น : ผื่นแบน มีรอยด่างขาวหรือคล้ำ ผิวเรียบ ไม่มีขอบนูน

  • อาการร่วมอื่นๆ : อาจไม่คัน หรือคันเล็กน้อย

  • บริเวณที่พบบ่อย : ลำตัว หลัง ไหล่

  • การติดต่อ : ไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น

  • การลุกลาม : มักไม่ลุกลามรุนแรง


สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นกลาก เกลื้อนได้ง่าย

  • เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์

  • ชอบวิ่งเล่นจนเหงื่อออก ผิวชื้นตลอดเวลา

  • ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน เสื้อผ้า

  • ไม่อาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นจนมีเหงื่อชื้นมาก

  • อยู่ในสภาพแวดล้อมร้อนชื้น เช่น ช่วงหน้าฝน หรือฤดูร้อน



วิธีรักษา กลาก เกลื้อน

วิธีรักษา กลาก เกลื้อน ในเด็ก

  1. พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย : แม้กลาก เกลื้อน จะไม่ใช่โรครุนแรง แต่ควรให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคใด เพื่อให้การรักษาตรงจุด และป้องกันการแพร่กระจาย

  2. ใช้ยาทาต้านเชื้อรา :

    - กลาก : ใช้ยาทากลุ่มต้านเชื้อรา เช่น Clotrimazole, Miconazole ทาวันละ 2 ครั้งนาน 2–4 สัปดาห์

    - เกลื้อน : ใช้ ยาทาที่มี Selenium sulfide หรือ Ketoconazole หรือล้างบริเวณที่เป็นด้วยแชมพูยาตามคำแนะนำของแพทย์

  3. กรณีเป็นหลายจุดหรือลุกลามมาก : อาจต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ภายใต้การดูแลของแพทย์

  4. ห้ามเกา :  เพราะอาจทำให้ลุกลามกระจายไปได้ และอาจจะทำให้ผิวอักเสบได้อีกด้วย

  5. ห้ามใช้ยาสเตียรอยด์เอง  : เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และเชื้อราเติบโตมากขึ้น และการใช้ยาสเตียรอยด์ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น และกลายเป็น “ กลากชนิดดื้อยา ” ได้


วิธีดูแล กลากเกลื้อน

การดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นกลาก เกลื้อน

  • รักษาความสะอาดผิวและบริเวณที่เป็นอยู่เสมอ

  • ซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน และของใช้ส่วนตัวบ่อยๆ

  • แยกของใช้ส่วนตัวจากคนในบ้าน

  • ใส่เสื้อผ้าหลวม ระบายอากาศได้ดี

  • อาบน้ำทันทีหลังเล่น หรือเวลาที่มีเหงื่อชื้นมาก

  • เลี่ยงสภาพแวดล้อมร้อนชื้น



กลาก เกลื้อน ไม่ใช่เรื่องเล็ก หากไม่ดูแลรักษาให้ดีอาจจะลุกลามไปมากขึ้นได้ แม้กลาก เกลื้อน จะเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างสองโรคนี้ และดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถหายได้โดยไม่มีผลข้างเคียง และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง

หากสังเกตเห็นผื่นผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ผิวหนัง ไม่ควรซื้อยาทาเอง เพราะอาจทำให้การรักษายากขึ้นในระยะยาวได้นั่นเอง



“ เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้ ”

ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์

คลิก Inbox : http://m.me/regagarth

Line : @regagar ( https://lin.ee/LLGNbL8 )

bottom of page