top of page
Writer's pictureregagar

คนท้องนวดได้ไหม? จะเป็นอันตรายต่อแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์หรือไม่?

คนท้องนวดได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์ หรือกับคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่ เป็นคำถามที่คุณแม่มือใหม่ หรือคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ ท่านเป็นกังวลมาก และต้องการคำตอบกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

คนท้องนวดได้ไหม

เนื่องด้วยน้ำหนักตัวที่มากขึ้น หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้การรับน้ำหนักทั้งหมดไปอยู่ที่ขา ข้อเข่า ข้อเท้า และส่วนหลังของคุณแม่ จึงทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามมา จนคุณแม่รู้สึกอยากจะนวดเพื่อคลายความปวดเมื่อยนั้นบ้าง แต่จะทำได้ไหม ทำได้มากน้อยแค่ไหน จะเป็นอันตรายกับคุณแม่หรือทารกในครรภ์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากคุณแม่ท้องแล้วค่ะ


คนท้องนวดได้ไหม ?

คำถามที่ว่าคนท้องนวดได้ไหมนั้น ก็ต้องบอกเลยว่า คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถนวดเพื่อผ่อนคลายได้ แต่ต้องนวดโดยผู้เชี่ยวชาญการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย

คนท้องนวด

แม้ว่าจะบอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถนวดได้นั้น แต่จะมีช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมที่สามารถนวดได้ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน และช่วงอายุครรภ์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการนวดด้วยเช่นกัน ซึ่งอายุครรภ์ที่ไม่ควรนวดก็คือ

  1. ช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้จะไม่เหมาะกับการนวด และห้ามนวดโดยเด็ดขาด เพราะเป็นช่วงอายุครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแท้งได้ง่ายนั่นเอง

  2. ช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป ช่วงอายุครรภ์นี้เป็นช่วงที่มดลูกขยายใหญ่ขึ้น และไปกดทับเส้นเลือดและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งหากคุณแม่ไปนวดโดยไม่ถูกต้อง ไม่ได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ได้

คุณแม่ตั้งครรภ์นวดจะมีอันตรายต่อคุณแม่และเด็กในครรภ์หรือไม่

การนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น มีข้อดีอยู่ที่สามารถลดความปวดเมื่อย ลดอาการบวม ลดการเกิดตะคริว คลายความเครียด ทำให้หลับสบาย อารมณ์ดีมากขึ้น และทำให้ระบบหมุนเวียนในร่างกายดีขึ้นด้วย แต่การนวดเองก็มีความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยได้เช่นกัน เพราะหากผู้นวดไม่ได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเรื่องการนวดคุณแม่ท้อง ก็อาจจะทำให้เสี่ยงเจ็บป่วย และรุนแรงถึงขั้นเสี่ยงชีวิตทั้งเด็กในครรภ์และคุณแม่ท้องได้ ดังนั้นจึงมีข้อห้ามในการนวดเพื่อผ่อนคลายความปวดเมื่อยของคุณแม่ตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้

คนท้องนวด

  • ห้ามนวดแผนไทย หรือนวดกดจุด นวดดัดตัว เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงแท้ง คลอดก่อนกำหนด และอาจเป็นการไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกได้

  • ห้ามนวดท้อง เพราะอาจไปกระตุ้นหรือกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ รวมถึงสุขภาพของคุณแม่ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตของทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้

  • ห้ามนวดเท้า ฝ่าเท้า เพราะเป็นจุดศูนย์รวมของเส้นประสาทสำคัญ ๆ ในร่างกาย รวมถึงมดลูกด้วย ดังนั้นการนวดฝ่าเท้าอาจไปกระเทือนถึงท้อง และกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้เสี่ยงเกิดการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด หรืออาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

  • ห้ามนวดเค้นน่อง เนื่องจากมีเส้นเลือดในท้องที่ขยายใหญ่ไปต่อเนื่องกับน่อง หรือขา อาจทำให้มีลิ่มเลือดอยู่บ้าง หากไปนวดเค้นบริเวณดังกล่าว อาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันส่วนอื่น ๆ ทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ก็ยังเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นให้มดลูกและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดรัดตัวได้อีกด้วย

วิธีการผ่อนคลายความเมื่อยล้าให้คุณแม่ตั้งครรภ์แบบไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และคุณลูกในครรภ์

เข้าใจว่าคุณแม่ตั้งท้องก็อยากจะนวดคลายเมื่อย คลายปวดบ้าง หากนวดกับผู้เชี่ยวชาญก็จะไม่มีปัญหาอื่น ๆ ตามมา แต่บางครั้งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องนวด คุณแม่ท้องก็สามารถผ่อนคลายความเมื่อยล้าเหล่านั้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

คนท้องนวด

  • แช่เท้าในน้ำอุ่น ในช่วงอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป จะเริ่มมีอาการบวมที่เท้า เพราะรับน้ำหนักค่อนข้างเยอะจากการขยายตัวของท้อง จึงแนะนำให้คุณแม่ท้องแช่เท้าในน้ำอุ่น เพื่อลดการบวม และบรรเทาอาการเมื่อยล้าได้ รวมไปถึงยังทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

  • หนุนหมอนที่เท้าให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดสามารถไหลย้อนหมุนเวียนได้ดีขึ้น ทำให้ลดการคั่งของเลือดบริเวณขาและฝ่าเท้าได้ ก็ทำให้ลดการปวดเมื่อย ลดการบวมไปได้ด้วยเช่นกัน

  • การเล่นโยคะ เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยในการคลายปวดเมื่อยได้ในระยะยาว และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ส่งผลไปถึงสุขภาพของคุณแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

  • การว่ายน้ำ จะช่วยรับน้ำหนักและลดแรงกดทับได้ดี รวมไปถึงลดอาการบวมได้ด้วย แนะนำควรว่ายในสระน้ำอุ่น เพื่อการไหลเวียนของโลหิตที่ดีด้วย


สรุป คือ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถนวดเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าต่าง ๆ ได้ แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความรู้ในการนวดคุณแม่ท้อง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบร้ายแรงกับคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางก่อนเสมอดีที่สุด

Comments


bottom of page