ผื่นเด็ก มักพบมากในเด็กเล็กตั้งแต่ทารกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผื่นในเด็กที่พบได้บ่อยเลยก็คือ ผื่นผิวหนังอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้สัมผัสต่าง ๆ ผื่นแมลงกัด ผื่นทารก ผื่นต่อมไขมันอักเสบ ผื่นผดร้อน เป็นต้น โดยผื่นต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะมีลักษณะของผื่น อาการที่บ่งชี้ รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันไป
ผื่นเด็กบางชนิด หากเราไม่ดูแลรักษาให้ดี หรือทำให้ถูกต้องถูกวิธีนั้น ก็อาจเสี่ยงทำให้ผิวของเด็ก เกิดการอักเสบ ระคายเคืองเพิ่มขึ้น เป็นอาการเรื้อรังได้ นอกจากนี้บางผื่นบางชนิดอาจมีผลต่อทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวกได้อีกด้วย
ผื่นเด็ก ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก
ผื่นเด็กมีมากมายหลายอย่าง วันนี้เรามาทำความรู้จักผื่นเด็กที่พบบ่อยแต่ละชนิด พร้อมเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาผิวลูกน้อยให้กลับมาเนียน ผิวแข็งแรง ผิวสุขภาพดีไปด้วยกันเลย
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็ก มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยเด็กประมาณ 10-20% สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น จากพันธุกรรม เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น หรือเกิดจากผิวหนังที่แห้งเรื้อรังและไวต่อสิ่งกระตุ้น และมักเกิดกับเด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ ฯลฯ
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง :
ผิวแห้ง แดง คันมาก เป็นๆ หายๆ เป็นในระยะเวลานาน
บางครั้งอาจมีน้ำเหลืองซึม หรือ ผิวหนังหนานูนขึ้นเนื่องจากการเกาได้
เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี : มักมีผื่นที่ แก้ม หน้าผาก ท้ายทอย ผิวแขนขาด้านนอก และที่ข้อมือ ข้อเท้า
เด็กโต : มักมีผื่นตามข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า
วิธีการดูแลรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง :
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้ลูกเกิดอาการผื่นแพ้ผิวหนัง และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ อาหารบางชนิด เป็นต้น เพื่อให้ผื่นหายขาด
เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดและอาบหรือแช่น้ำเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำให้ลูกน้อยด้วย ไม่ใช้สบู่ผู้ใหญ่ในการอาบน้ำให้ลูกน้อย เพราะมีค่าความเป็นด่างสูง จะยิ่งทำให้ผิวลูกน้อยแห้งมากยิ่งขึ้นได้ แนะนำให้ใช้สูตรออยล์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อยทุกครั้งที่อาบน้ำ ลดการแห้งลอก ลดผื่นหนาด้วย
ควรทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวให้ลูกน้อยเป็นประจำทุกครั้งหลังอาบน้ำ เน้นสูตรที่มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว และมีส่วนช่วยในการลดผดผื่น ลดการระคายเคืองผิวด้วยยิ่งดี
ผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis)
เป็นการอักเสบของผิวหนังชั้นนอก ที่เกิดจากการสัมผัสกับ สารก่อภูมิแพ้ หรือ สารระคายเคือง โดยตรง สาเหตุของผื่นแพ้สัมผัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ผื่นแพ้สัมผัสแบบภูมิแพ้ (Allergic Contact Dermatitis) ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่สัมผัส โดยร่างกายจะเข้าใจผิดว่าสารนั้นเป็นอันตราย ทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบขึ้นบนผิวหนัง เช่น ไรฝุ่น ไรในขนสัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ หญ้า เป็นต้น
ผื่นระคายเคืองสัมผัส (Irritant Contact Dermatitis) ซึ่งเกิดจากการสัมผัสสารระคายเคืองต่อผิวหนังโดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น เหงื่อ น้ำลาย แมลงบางชนิด เป็นต้น
อาการของผื่นแพ้สัมผัส :
ผื่นแดง คัน นูน บวม
ตุ่มใสหรือตุ่มหนอง
แสบร้อนหรือเจ็บ
มักเกิดขึ้นบริเวณที่ผิวสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นนั้นๆ
วิธีการดูแลรักษาผื่นแพ้สัมผัส :
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ผื่นชนิดนี้แม้หลีกเลี่ยงได้ แต่หากสัมผัสโดนสิ่งกระตุ้น ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
ทายาหรือทาครีม โลชั่นที่ช่วยลดอาการอักเสบของผิว บรรเทาอาการคัน ลดการระคายเคือง
ในบางรายหากมีอาการแพ้มาก อาจทำให้หายใจลำบาก เนื่องจากหลอดลมตีบลง แนะนำให้พบแพทย์ในทันที
ผื่นทารก ผื่นเด็กแรกเกิด (Neonatal Rash)
เป็นผื่นที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด มักเกิดขึ้นภายใน 28 วันหลังคลอด โดยทารกประมาณ 20-30% จะเป็น สาเหตุเกิดจากผิวที่บอบบางมากๆ ของทารก เมื่อออกจากท้องแม่ที่เหมือนเป็นเกราะป้องกันผิวทารก เจอกับมลภาวะ สภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นผดผื่นได้นั่นเอง
อาการของผื่นทารก ผื่นเด็กแรกเกิด :
ตุ่มหนองเล็กๆ สีขาว มักพบที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา
ผื่นแดงเป็นปื้น มีตุ่มน้ำเล็กๆ ตรงกลาง มักพบที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา
ตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง มักพบที่ใบหน้า ลำตัว แผ่นหลัง
วิธีการดูแลรักษาผื่นทารก ผื่นเด็กแรกเกิด :
หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ หรือสิ่งที่ทำให้ผิวลูกน้อยระคายเคือง เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ดอกไม้ เป็นต้น
ผื่นชนิดนี้มักหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ควรดูแลให้ดีเพื่อลดการระคายเคืองเพิ่ม รวมไปถึงลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย
ผื่นต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) หรือ (Cradle Cap)
เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กทารก มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน สาเหตุที่เกิดผื่นต่อมไขมันอักเสบในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ต่อมไขมันของทารกทำงานมากเกินไป หรืออาจเกิดจากเชื้อรา Malassezia ที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง รวมไปถึงอาจเกิดจากพันธุกรรมด้วย
อาการของผื่นต่อมไขมันอักเสบ :
สะเก็ดไขมันสีเหลือง เหนียว
เกล็ดสีขาว
หนังศีรษะลอกแดง
อาจมีอาการคันร่วมด้วยบางครั้ง
มักเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมัน ได้แก่ บนหนังศีรษะ คิ้ว เปลือกตา ร่องจมูก หว่างคิ้ว หน้าผาก หลังหู
วิธีการดูแลรักษาผื่นต่อมไขมันอักเสบ :
ห้ามแคะ ห้ามแกะ ห้ามเกาบริเวณที่ลูกน้อยมีสะเก็ดไขมันเด็ดขาด!! นั่นเป็นการทำให้ผิวลูกน้อยเป็นแผลมากขึ้น และยิ่งอักเสบมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
สระผมให้ทารกเป็นประจำ โดยเลือกผลิตภัณฑ์อาบสระที่เป็นสูตรออยล์ เน้นนวดวนเบาๆ ให้ออยล์ซึมเข้าไปทำให้ไขนิ่มลง และหลุดออกเองโดยไม่ทิ้งรอยแผลไว้ แนะนำให้ลงออยล์ก่อนนวดในขณะที่ผิวหนังศีรษะของลูกน้อยยังแห้งอยู่ จะทำให้ออยล์อาบสระมีประสิทธิภาพในการเข้าฟื้นฟูผิวลูกน้อยได้ดียิ่งขึ้น
ทาครีมบำรุงผิวให้ลูกน้อยทุกครั้งหลังอาบน้ำ แนะนำให้เลือกสูตรครีมที่มีสารสกัดธรรมชาติ เพราะช่วยในการลดการระคายเคือง ลดการอักเสบของผิว หากมี OMEGA 3,6,9 จะยิ่งดี เพื่อเป็นการฟื้นฟูผิวลูกน้อยให้กลับมาแข็งแรง ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ
ผื่นผดร้อน (Miliaria)
ภาวะผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากต่อมเหงื่ออุดตัน ทำให้เหงื่อไม่สามารถระบายออกได้ มักพบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากต่อมเหงื่อยังพัฒนาไม่สมบูรณ์นั่นเอง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงปัจจัยถภายนอก อย่างเช่น สภาพอากาศร้อน อบอ้าว เหงื่อออกมาก การสวมใส่เสื้อผ้าให้ลูกน้อยที่หนาเกินไป ทำให้เหงื่อระบายออกได้ยากก็ทำให้เกิดผดร้อนขึ้นได้
อาการของผื่นผดร้อน :
ตุ่มใสขนาดเล็ก มักพบที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา
ตุ่มแดง คัน มักพบที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา
ตุ่มหนอง มักพบที่บริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ขาหนีบ รักแร้
วิธีการดูแลรักษาผื่นผดร้อน :
หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในที่ที่อากาศร้อน ควรให้ลูกน้อยอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก หรืออยู่ในห้องแอร์ที่มีความเย็นเพียงพอต่อผิวเด็ก
สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่หนาจนเกินไป
หากลูกน้อยมีผิวชื้นเหงื่อมาก ควรอาบน้ำ หรือซับเหงื่อบนผิวออกให้ลูกน้อยเสมอ เพื่อลดการระคายเคือง และลดการเกิดผดร้อนด้วย โดยเลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่มีส่วนช่วยในการลดคราบเหงื่อบนผิวลูกน้อยจะดีที่สุด
ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวลูกน้อยทุกครั้งหลังอาบน้ำ เน้นสูตรที่เพิ่มความชุ่มชื้น และต้องมีส่วนช่วยในการลดการระคายเคืองผิว ลดการอักเสบของผิว หากเลือกสูตรที่มีเชียร์บัตเตอร์ สารสกัดดอกคาโมมายด์ และสารสกัดธรรมชาติอื่นๆ ด้วยยิ่งดี จะบรรเทาอาการคันได้ดี
ผื่นอับชื้น ผื่นผ้าอ้อม (Diaper dermatitis)
เป็นภาวะผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากการอับชื้นเหงื่อสะสมอยู่บนผิวหนัง ผิวหนังเสียดสีกันทำให้ผิวหนังระคายเคือง การสวมใส่เสื้อผ้ารัดแน่น ไม่ระบายอากาศก็มีส่วนให้เกิดการอับชื้น มีเชื้อรา แบคทีเรีย ที่อาจเติบโตในบริเวณที่มีความอับชื้นจนเป็นผื่นอับชื้นได้นั่นเอง
อาการของผื่นอับชื้น :
ผิวหนังแดง คัน ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนอง
ผิวหนังลอกเป็นขุย แห้ง แตก
มีกลิ่นเหม็น บริเวณที่มีผื่นอับชื้นอาจมีกลิ่นเหม็นอับ
อาจมีน้ำซึมออกมาจากบริเวณผื่นอับชื้น
มักเป็นบริเวณที่มีการเสียดสีหรือพับของเนื้อ เช่น รักแร้ ขาหนีบ ใต้ร่มผ้าอ้อม เป็นต้น
วิธีการดูแลรักษาผื่นอับชื้น :
หากลูกน้อยมีผิวชื้นเหงื่อมาก แนะนำให้เช็ดตัว หรืออาบน้ำให้ลูกน้อยเลยยิ่งดี เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนในการลดคราบเหงื่อบนผิวได้ดี เพื่อลดการสะสมของเหงื่อ ต้นเหตุของการเกิดผื่นอับชื้นนั่นเอง
ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวทุกครั้งหลังอาบน้ำ เน้นสูตรที่ช่วยลดผื่น บรรเทาการอักเสบของผิว ฟื้นฟูให้ผิวลูกน้อยกลับมาเนียนนุ่มชุ่มชื้น
สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าหนาๆ
หากลูกน้อยมีปัญหาผิว ไม่ว่าจะเป็นผื่นชนิดดูแลตามที่แนะนำมาข้างต้น ผิวลูกน้อยจะกลับมาเนียนสวย ผิวแข็งแรง ผิวสุขภาพดี ลดโอกาสการเกิดผดผื่นซ้ำ
“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้” ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์คลิก
Inbox : http://m.me/regagarth
Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )
header.all-comments