กลากน้ำนม คืออะไร เป็นแล้วหายได้หรือไม่ จริง ๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่น่าจะเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบถึงวิธีดูแลรักษาให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ วันนี้เรามาหาคำตอบให้เรื่องนี้กันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านยังเข้าใจผิดกันอยู่ว่าเป็นโรคที่คล้ายกับกลาก หรือเกลื้อน หรือบางท่านก็อาจจะคิดว่าลูกน้อยติดเชื้อราทางผิวหนัง ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นคนละโรคกัน โดยกลากน้ำนมนั้น จะเป็นโรคผิดปกติทางผิวหนังเท่านั้นเอง
กลากน้ำนม คือ
กลากน้ำนม หรือ Pityriasis alba คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้าทำงานผิดปกติ ทำให้ผิวหนังในบริเวณนั้นมีสีสีจางลง จนเห็นเป็นสีขาว ๆ หรือเป็นด่างขาว โรคกลากน้ำนมนี้สามารถเป็นได้กับทุกเพศทุกช่วงวัย แต่มักพบได้มากสุดในกลุ่มเด็กที่อยู่ในช่วงวัยกินนม หรือ 3-14 ปี จึงพาเรียกกันว่า “กลากน้ำนม” ตามช่วงวัยที่พบบ่อยนั่นเอง
แม้ว่าจะไม่ได้มีการบอกสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็สันนิษฐานกันได้ว่าอาจสัมพันธ์กับอาการภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบในเด็ก รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น แพ้แสงแดด แพ้ลม อากาศแห้ง หน้าหนาว แพ้สบู่ที่ลูกน้อยใช้เนื่องจากมีค่าความเป็นด่างมากเกินไป รวมไปถึงการระคายเคืองเหงื่อ แพ้น้ำลายเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากภาวะขาดสารอาหารบางชนิด
ลักษณะอาการของกลากน้ำนม
ลักษณะของกลากน้ำนมในช่วงแรกจะเริ่มจากการมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง หลังจากนั้นไม่นานจะเริ่มขยายเป็นวงเป็นดวงสีแดงจาง ๆ หรือสีชมพูอ่อน ๆ และผื่นจะแห้งตกสะเก็ด ต่อมาก็จะจางลงจนกลายเป็นวงสีขาว ๆ ขนาดโดยประมาณตั้งแต่ 0.5-5 เซนติเมตร และไม่มีขอบเขตของวงไม่ชัดเจน หากสังเกตดี ๆ คุณพ่อคุณแม่จะพบว่ามีขุย ๆ จาง ๆ อยู่รอบวงกลากน้ำนมอยู่บ้าง
บริเวณที่พบกลากน้ำนมได้บ่อย ๆ คือ ใบหน้า คอ ต้นแขน หลัง ไหล่ ลำตัว หน้าอก และขา ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคันร่วมด้วย สำหรับลูกน้อยที่มีผิวคล้ำ หรือผิวสองสี มักจะเห็นวงขาวของกลากน้ำนมได้ชัดเจนมากกว่าเด็กผิวขาว เนื่องกลากน้ำนมสีกลืนไปกับสีผิวนั่นเอง
วิธีการดูแลรักษากลากน้ำนม
ทางการแพทย์ยังไม่มียารักษาโรคกลากน้ำนมได้โดยตรง แต่โดยปกติแล้วกลากน้ำนมจะหายเองได้ อาจจะระยะเป็นเดือน หรือในเด็กบางรายออาจจะใช้เวลาเป็นปี รอยด่างขาวถึงจะจางหายไป แต่ก็เนื่องจากใช้เวลานานกว่ารอยด่างขาวจะจ่างหายไปทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล จึงพยายามหาวิธีรักษาให้ด่างขาว หรือกลากน้ำนมของลูกน้อยหายไปเร็ว ๆ ซึ่งวิธีดูแลรักษาโดยส่วนมากจะเน้นไปที่การดูแลผิวของลูกน้อย มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเกินไป เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำให้ลูกน้อยที่มีค่า pH5.5 เพราะอ่อนโยนกับผิวลูกน้อยที่สุด และเป็นค่า pH ที่ใกล้เคียงกับผิวลูกน้อย เพราะเด็กบางรายที่เป็นโรคกลากน้ำนม มีด่างขาวก็เพราะแพ้สบู่ที่เป็นด่างมากเกินไปนั่นเอง หากคุณพ่อคุณแม่เลือกใช้เป็นสูตรออยล์เจล แนะนำให้เลือกเป็นออยล์ธรรมชาติ หรือหากเป็นแบบโฟมเน้นเลือกที่มีค่า pH อย่างที่บอกไปข้างต้น รวมถึงมีส่วนผสมที่ทำให้ผิวลูกน้อยนุ่มชุ่มชื้นด้วย เพราะจะทำให้ผิวลูกน้อยไม่แห้งเสีย ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในชั้นผิวของลูกน้อย ไม่ต้องกังวลลูกน้อยสูญเสียน้ำออกจากผิวขณะอาบน้ำ ทำให้ลดการเกิดผิวแห้ง ก็ลดการเกิดกลากน้ำนมได้นั่นเอง
ทาครีมและโลชั่นบำรุงผิวลูกน้อย เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกน้อยทุกครั้งหลังอาบน้ำ ไม่ให้ผิวแห้ง หรือลอกเป็นขุยมากกว่าเดิมโดยเน้นทาซ้ำบริเวณที่ลูกน้อยมีกลากน้ำนม ซึ่งแนะนำให้เลือกครีมและโลชั่นที่มีมอยส์เจอไรเซอร์ และสามารถลดการอักเสบของผิวหนังได้ หากเป็นไปได้แนะนำให้เลือกที่มีเซรามายด์และกรดอะมิโน เพราะมีความจำเป็นต่อผิวเด็ก จะช่วยเสริมให้ชั้นผิวของลูกน้อยแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไม่แพ้หรือระคายเคืองง่ายอีก และยังทำให้เม็ดสีผิวกลับมาทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงจะค่อย ๆ ปรับการทำงานของเม็ดสีตรงผิวที่มีรอยด่างขาวให้กลับมาทำงานได้ปกติเร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาโดยประมาณ 1-3 เดือน สีผิวของลูกน้อยที่มีกลากน้ำนมอยู่ก็จะกลับมาเรียบเนียนสม่ำเสมอกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องบำรุงผิวลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง
ทาครีมกันแดดเด็กให้ลูกน้อยทุกครั้งที่ต้องออกไปเจอแสงแดด หรือตากลมนอกบ้าน เนื่องจากที่เราบอกไปแล้วข้างต้นว่าสาเหตุของการเกิดกลากน้ำนมนั้น อาจจะเกิดจากการแพ้แสงแดด ผิวไวต่อแดด คุณพ่อคุณแม่จึงควรทาครีมกันแดดให้ผิวหน้าและผิวกายลูกน้อยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือทุกครั้งหลังการบำรุงผิวให้ลูกน้อยเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้เลือกเป็นกันแดดสำหรับเด็กที่มี SPF50 PA+++ ตามจริง เพราะจะปกป้องผิวลูกน้อยจากแสงแดด แสง UV ต่าง ๆ ได้จริง ซึ่งนอกจากจะป้องกันแสงแดดแล้ว ก็ยังช่วยป้องกันการเกิดกลากน้ำนมจุดใหม่ ๆ และป้องกันไม่ให้กลากน้ำนมกระจายตัวมากขึ้นด้วย แต่หากเป็นไปได้แนะนำให้เลี่ยงการพาลูกน้อยออกไปโดนแสงแดดจะดีที่สุด
Tips : อีกหนึ่งอย่างที่ช่วยกระตุ้มให้เซลล์การทำงานของเม็ดสีให้ลูกน้อยได้ก็คือ ให้ลูกน้อยรับประทานผัก ผลไม้ที่มีสีเหลือง หรือสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง เป็นต้น
แม้ว่ากลากน้ำนมจะป้องกันไม่ได้ แต่สามารถลดการเกิดได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เราบอกมาข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามกันดูได้เลย แม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการรักษา แต่โรคกลากน้ำนมของลูกน้อยจะหายแน่นอน
Commenti