top of page
Writer's pictureregagar

ตั้งครรภ์ อายุเยอะ ( Elderly pregnancy ) เกิดความเสี่ยงอะไรได้บ้าง

ตั้งครรภ์ อายุเยอะ หรือการตั้งครรภ์ในวัยสูงอายุ หรือที่เรียกกันว่า Elderly pregnancy นั้น มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว โดยในทางการแพทย์ที่นับว่าเป็นการตั้งครรภ์ในวัยสูงอายุ หรือ Elderly pregnancy  นั้นคือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปว่า ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้น อาจเกิดเนื่องจากคุณภาพของไข่และสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุนั่นเอง

ตั้งครรภ์ อายุเยอะ Elderly pregnancy

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของการ ตั้งครรภ์ อายุเยอะ

การตั้งครรภ์ในวัยผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงในทางการแพทย์ค่อนข้างสูง ซึ่งมีความเสี่ยงทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เองและทารกในครรภ์ และมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าสตรีอายุน้อยอีกด้วย


ตั้งครรภ์ อายุเยอะ Elderly pregnancy

ภาวะความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

  • ความผิดปกติทางโครโมโซม ( Chromosome abnormality ) : ความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome ) โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม เป็นต้น ซึ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น

  • คลอดก่อนกำหนด : เมื่อคลอดก่อนกำหนดก็อากจะทำให้ทารกที่ออกมา อาจมีน้ำหนักน้อย หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้

  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์ : มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงกว่าในกลุ่มอายุน้อย

  • ความผิดปกติในการเจริญเติบโต : ทารกอาจมีขนาดเล็กกว่าปกติ หรือมีปัญหาในการเจริญเติบโตของอวัยวะบางส่วน


ภาวะความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ : มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูก

  • ภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด : เช่น การคลอดก่อนกำหนด การคลอดโดยการผ่าตัด (C-section) ซึ่งอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุด้วย

  • ความเสี่ยงต่อสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ : เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อาจกำเริบหรือรุนแรงขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์


ภาวะความเสี่ยงต่อครรภ์

  • ความเสี่ยงต่อการแท้ง ( Miscarriage ) : ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นมีโอกาสแท้งสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ถือว่าเป็นช่วงอันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุเยอะเลยทีเดียว

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) : ในสตรีตั้งครรภ์ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะท้องนอกมดลูกเพิ่มขึ้น 4-8 เท่าของสตรีมีครรภ์อายุน้อย สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้เกิดรกผิดปกติ หรือการทำงานของท่อนำไข่ที่เสื่อมลง ทำให้ไข่ที่ถูกผสมไม่สามารถเคลื่อนตัวไปฝังตัวในตำแหน่งที่เหมาะสมได้นั่นเอง




แม้ว่าการตั้งครรภ์ในวัยสูงอายุจะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันก็มีหลายคู่ที่สามารถตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การตั้งครรภ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องจะดีต่อทั้งคุณแม่ที่ต้องการตั้งครรภ์และลูกน้อยในครรภ์ด้วย



Commentaires


bottom of page