5 วิธีแก้ปัญหา ท้องแตกลาย ของคุณแม่ท้อง
top of page

5 วิธีแก้ปัญหา ท้องแตกลาย ของคุณแม่ท้อง

คุณแม่ท้องหลาย ๆ คนคงหนีไม่พ้นปัญหา “ ท้องแตกลาย ” กันใช่หรือไม่ และนี่ก็เป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่หลาย ๆ ท่านเป็นกังวลจนถึงขั้นเครียดกันเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วปัญหาท้องแตกลายขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถป้องกัน และแก้ไขได้

ท้องแตกลาย

ท้องแตกลาย ของคุณแม่ท้อง เกิดจาก

เนื่องจากขยายตัวอย่างรวดเร็วของผิวหนังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เส้นใยโปรตีนอีลาสติลและคอลลาเจนบริเวณชั้นผิวยืดออกจนถูกทำลายและทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นรอยแตกลายได้

คุณแม่ตั้งครรภ์

ทั้งนี้อาการท้องแตกลายยังเกี่ยวโยงกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปของคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย ยิ่งช่วงที่ใกล้คลอดน้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้น ส่วนของท้องก็จะขยายมากยิ่งขึ้น ทำให้ผิวหนังของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายตัวไม่ทันจนเกิดเป็นรอยแตกได้ ซึ่งรอยแตกนี้มักจะเกิดขึ้นบริเวณ หน้าท้อง สะโพก ต้นขา นั่นเอง โดยระยะของการแตกลายมีด้วยกัน 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 : รอยแตกลายสีอ่อนจาง ๆ อาจมีอาการคันร่วมด้วย ระยะนี้เป็นระยะเริ่มแรกที่สามารถรักษาหายได้เร็วที่สุด

  • ระยะที่ 2 : รอยแตกเริ่มมีสีเข้ม และเด่นชัดมากขึ้น รอยจะค่อย ๆ ขยายตัวออกเรื่อย ๆ

  • ระยะที่ 3 : รอยแตกลายเริ่มจางลงกลายเป็นสีขาวซีด หากปล่อยให้ถึงระยะนี้จะรักษาหายยากที่สุด ผิวบริเวณรอยแตกจะเริ่มหดตัวลง สีจะเริ่มไม่สม่ำเสมอ

5 วิธีแก้ปัญหา ท้องแตกลายของคุณแม่ท้อง

คุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์สามารถดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาท้องแตกลายได้ตั้งแต่ระยะแรกได้เลย ซึ่งมีวิธีแก้ปัญหา 5 วิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

ท้องแตกลาย

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คุณแม่ตั้งครรภ์ทราบไหมคะว่า การออกกำลังกายช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยแตกได้ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ทำให้ผิวหนังคงความยืดหยุ่นได้ดี ทำให้เวลาที่ผิวหนังขยายตัว ลดโอกาสการเกิดรอยแตกลาย ลดการเกิดเส้นเลือดขอด รวมไปถึงอาการข้อเท้าบวมระหว่างการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

ท้องแตกลาย คุณแม่ท้อง

  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิว แนะนำให้เลือกรับประทานเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน C และวิตามิน E เช่น มะเขือเทศ ส้ม แครอท โยเกิร์ต เป็นต้น เนื่องจากวิตามินทั้ง 2 ตัวนี้จะช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยปกป้องความเสียหายของเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเส้นใยอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการคงสภาพความยืดหยุ่นของผิวที่จะขยายตัวนั่นเอง รวมไปถึงการดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน ก็มีส่วนช่วยให้ผิวแข็งแรง ลดการเกิดรอยแตกลายได้เช่นกัน คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์พยายามทานแต่พอดีไม่ควรให้น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไป หน้าท้องจะได้ประสภาพค่อย ๆ ขยายตัวยืดออกได้นั่นเอง

ท้องแตกลาย ห้ามเกา

  • ห้ามเกาเมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการท้องแตกลาย อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่าในระยะท้องแตกลายเริ่มแรกนั้นอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย แต่คุณแม่ไม่ควรเกาเด็ดขาด!! เพราะการเกาจะทำให้เกิดรอยแตกมากขึ้นได้ เพราะไปกระตุ้นให้คอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนังเกิดรอยแตกมากขึ้น แนะนำหากมีอาการคันให้คุณแม่ใช้มือลูบเบา ๆ บริเวณที่มีอาการคันเท่านั้นพอจะดีที่สุด

ท้องแตกลาย

  • ไม่ควรอาบน้ำอุ่นเกินไปและนานเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ผิวแห้งขาดน้ำได้ และคุณแม่ตั้งครรภ์ยิ่งที่อาการผิวแห้งอยู่แล้ว การอาบน้ำอุ่นเกินไปก็ยิ่งทำให้ผิวแห้ง ผิวแตกลายมากขึ้น จนอาจจะเป็นขุยได้

ท้องแตกลาย ทาครีมบำรุง

  • ทาโลชั่นบำรุงผิวลดรอยแตกระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด หากคุณแม่เริ่มท้องโตแนะนำให้เริ่มทาครีมบำรุงผิวหน้าท้อง หรือใช้เป็น BODY LOTION ที่มีส่วนช่วยในการเติมความชุ่มชื้นให้ผิว และควรเลือกที่ไม่มีสารอันตรายต่อคนท้อง และเด็กในครรภ์ หรือจะเลือกเป็น BODY LOTION ของเด็กทารกก็ได้เช่นกัน อย่างเช่น BABY EVERYDAY BODY LOTION || Regagar ของเรา สูตรนี้มีเซรามายด์เข้มข้นสูงถึง 5 ชนิด (1,2,3,5,6) และกรดอะมิโน 17 ชนิดที่จำเป็นต่อผิว ช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นใต้ชั้นผิว ช่วยเสริมชั้นผิวให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวนุ่มละมุน รองรับการยืดขยายของผิวขณะตั้งครรภ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งยังมีว่านหางจระเข้ ดอกคาโมมายล์ และรากชะเอม ลดการคัน ให้ความชุ่มชื้นสูง ป้องกันการเกิดปัญหาผิวแตกลายได้เป็นอย่างดี และมีวิตามิน B3 B5 และ E ช่วยเพิ่มความกระจ่างใส ให้ผิวเนียนสวยอย่างเป็นธรรมชาติ สูตรนี้นอกจากการบำรุงผิวแล้ว ยังช่วยในการรักษาสมดุลให้กับผิว ลดการสูญเสียน้ำใต้ผิว เก็บกักความชุ่มชื้นไว้ใต้ผิวได้ยาวนาน ป้องกันผิวแตกลายได้ สูตรนี้ไม่มีสารอันตาย ไม่มีสเตียรอยด์ ไม่มีส่วนผสมของยาทุกรูปแบบ ปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์อย่างแน่นอน



หากคุณแม่กังวลเรื่องผิวแตกลายขณะตั้งครรภ์ สามารถดูแลผิวตามที่แนะนำไว้ด้านบนได้เลย รับรองผิวแตกลายหาย ท้องหลังคลอดกลับมาเนียนสวยแน่นอน ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลตัวเองและดูแลครรภ์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์นะคะ



bottom of page