อีสุกอีใส เป็นช่วงหน้าร้อน อันตรายมากขึ้นจริงหรือไม่
- regagar
- Apr 24
- 1 min read
เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนโรคผิวหนังหลายชนิดมักจะระบาดมากขึ้น หนึ่งในโรคผิวหนังที่พบกันได้บ่อยนั้นคือ อีสุกอีใส ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส Varicella-Zoster Virus (VZV) มักพบได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่คำถามที่คุณพ่อคุณแม่สงสัยก็คือ "อีสุกอีใสในช่วงหน้าร้อน อันตรายกว่าช่วงอื่นจริงไหม " วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ

อีสุกอีใส คือ
อีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา-ซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus: VZV) ที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 1–10 ปี แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านทางละอองน้ำลาย หรือการสัมผัสตุ่มน้ำที่แตก
อาการของอีสุกอีใสในเด็ก
ระยะเริ่มแรก (ก่อนมีผื่น 1–2 วัน) อาการจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา
มีไข้ต่ำ ๆ ถึงปานกลาง
ปวดหัว
อ่อนเพลีย งอแง เบื่ออาหาร
อาจมีเจ็บคอหรือเจ็บในปากเล็กน้อย
ระยะที่มีผื่นหรือตุ่มขึ้น : เป็นอาการเด่นของโรคนี้ และแบ่งได้เป็นหลายระยะที่มักเกิดพร้อมกันบนร่างกาย
ตุ่มแดงเล็ก ๆ คล้ายผื่นยุงกัด
ตุ่มน้ำใส : ภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส
ตุ่มน้ำขุ่น : ผ่านไป 1–2 วัน ตุ่มน้ำจะเริ่มขุ่นขึ้น
ตกสะเก็ด : ภายใน 5–10 วัน ตุ่มจะแห้ง กลายเป็นสะเก็ด และหลุดไปเอง
ทั้งนี้ตุ่มอีสุกอีใสจะขึ้นใหม่เป็นระยะ ทำให้เด็กมีทั้งตุ่มแดง ตุ่มใส และสะเก็ดในร่างกายพร้อมๆกัน
ตุ่มขึ้นบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย
เริ่มจากลำตัว หน้า ท้ายทอย ก่อนลามไปแขน ขา ใบหน้า และหนังศีรษะ
บางรายอาจมีตุ่มขึ้นในปาก ลำคอ หรืออวัยวะเพศ ทำให้เจ็บมาก
ทั้งนี้อีสุกอีกใส มักทำให้มีอาการคันร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังไม่ให้ลูกน้อยเกา เพราะอาจจะทำให้เกิดแผล เป็นรอยดำได้

อาการที่ควรพบแพทย์ทันที : หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาลูกน้อยไปโรงพยาบาล พบแพทย์ทันที
ไข้สูงเกิน 39°C
ซึม ไม่ยอมกินอาหารหรือดื่มน้ำ
แผลอีสุกอีใสแดง บวม เจ็บมาก หรือมีหนอง เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีภาวะแทรกซ้อนได้
ไอมาก หายใจลำบาก อาจเป็นอาการปอดอักเสบจากไวรัส
ชัก หรือหมดสติ อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ต้องรีบพบแพทย์ทันที
อีสุกอีใสในหน้าร้อนอันตรายมากขึ้นจริงหรือ
โดยทั่วไป ในหน้าร้อน อีสุกอีใสไม่ได้น่ากลัวหรือรุนแรงกว่าปกติในช่วงอื่นๆ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ภาวะแทรกซ้อน ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าร้อน เช่น

ตุ่มติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากอากาศร้อนและเหงื่อที่สะสม อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนังได้ หากเด็กเกาตุ่มอีสุกอีใส ก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือแผลเป็นลึก (Keloid) ได้
ภาวะขาดน้ำ ไข้สูงร่วมกับอากาศร้อนอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำได้ง่ายขึ้น เด็กบางคนอาจมีแผลในปาก ทำให้กินอาหารหรือน้ำได้ยาก
อาการรุนแรงในกลุ่มเสี่ยง เช่น ทารก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ตุ่มอีสุกอีใสหายช้ากว่าปกติ เพราะความชื้นทำให้เกิดการอักเสบ
วิธีดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นอีสุกอีใสช่วงหน้าร้อน
ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่น หรืออาบน้ำบ่อยขึ้นด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อลดเหงื่อและป้องกันการติดเชื้อ และให้ยาลดไข้ตามที่แพทย์แนะนำ (หลีกเลี่ยงแอสไพริน)
ตัดเล็บให้สั้น ป้องกันการเกาเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อน
ทายาฆ่าเชื้อหรือทาโลชั่นลดคันตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามให้ลูกแกะตุ่มเด็ดขาด ป้องกันการเกิดแผล รอยดำลึก
ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย ระบายอากาศดี ช่วยลดการอับชื้นและการอักเสบของตุ่ม
แยกตัวเด็กจากคนอื่น เพื่อลดการแพร่กระจายของเชืื้อ

วิธีป้องกันอีสุกอีใส
ฉีดวัคซีนอีสุกอีใส เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด แนะนำให้ฉีดป้องกันให้ลูกน้อยให้ครบ - เข็มแรก เมื่ออายุ 12-15 เดือน - กระตุ้นเข็มที่สองที่อายุ 4-6 ปี
รักษาสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดในช่วงระบาด โดยเฉพาะในโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก
จึงสรุปได้ว่า อีสุกอีใสในช่วงหน้าร้อนไม่ได้อันตรายกว่าปกติ แต่ต้องระวัง เพราะในช่วงหน้าร้อนอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยให้ถูกวิธี และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน เพื่อให้เจ้าตัวเล็กปลอดภัยจากโรคนี้
“เพราะเรื่องของลูก ไม่ใช่อะไรก็ได้”
ปรึกษาปัญหาผิวลูก หรือ สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
คลิก Inbox : http://m.me/regagarth
Line : @regagar ( https://bit.ly/3cNxa0D )
Comments