top of page

4 โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก เป็นสิ่งที่น่าเป็นกังวลมาก ๆ เลยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกบ้าน เพราะเด็กเล็กจะมีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ที่จะเกิดอาการป่วยได้ และติดต่อกันไปได้ง่ายมาก ๆ อีกด้วย เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับทั้ง 4 โรคติดต่อหน้าฝน ที่ลูกน้อยต้องเจอกันก่อนเลย พร้อมทั้งมาเรียนรู้วิธีดูแลป้องกันไปพร้อมกันด้วย


4 โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก


โรคติดต่อในช่วงหน้าฝนแบบนี้มักจะติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ มีการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ และยังมีตัวพาหะทำให้เป็นโรคนั้นๆ ด้วย จะมีโรคอะไรบ้าง แล้วจะดูแลรักษาอย่างไร ในวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโรงพยาบาลมาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ศึกษาในเบื้องต้น ไปเริ่มดูกันทีละโรคได้เลย


โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก - โรคไข้หวัดใหญ่


โรคไข้หวัดใหญ่ ต้องบอกก่อนเลยว่าโรคนี้สามารถเป็นกันได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการระบาดมากในช่วงหน้าฝน และสามารถเป็นได้ทุกช่วงวัย แต่ในเด็กเล็กนั้นจะเป็นได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ จะติดต่อกันผ่านทางเดินทางใจ ผ่านทางการไอ จาม ซึ่งเชื้อจะเข้าจมูกหรือปาก


อาการของโรคไขหวัดใหญ่ในเด็ก

มีไข้ขึ้นสูงทันที พร้อมกับปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ลูกน้อยไม่ยอมทานข้าว มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล ไอแห้ง คอแดงเล็กน้อย หน้าแดง หากอาการรุนแรงมาก ๆ อาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่มาร่วมกันได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หรือ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น


วิธีป้องกันโรคไขหวัดใหญ่ในเด็ก

  • เด็กอายุ 6 - 23 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี การฉีดทุกปี ก็เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยนั่นเอง

  • พยายามสอนให้ลูกน้อยใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องไปเจอผู้คนมากๆ หรือถ้าลูกน้อยเป็นก็ต้องให้เขาเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองไม่ให้แพร่เชื้อใส่ผู้อื่น

  • คุณพ่อคุณแม่ต้องปลูกฝังการล้างมือ 7 ขั้นตอนที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยทำเป็นประจำ

  • ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย และชวนลูกออกกำลังกายเป็นประจำ



โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก - โรคไข้เลือดออก


โรคไข้เลือดออก อย่างที่รู้กันดีช่วงหน้าฝนยุงก็ออกแพร่กระจาย โรคนี้ก็มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเชื้อจะมีระยะฟักตัวอยู่ในยุงประมาณ 5-8 วัน เมื่อบินไปกัดลูกน้อยเข้า มันก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับลูก ทำให้เป็นไข้เลือดออกได้ ซึ่งจะเป็นกันมากในช่วงอายุระหว่าง 5-14 ปี

อาการของโรคไข้เลือดออก

อาการที่เราจะสังเกตว่าลูกน้อยเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ ให้สังเกตไข้ก่อนเลย ซึ่งเป็นอาการใน ระยะที่แรก ลูกน้อยจะมีอาการไข้ขึ้นสูง 30-40 องศาเซลเซียส หลายวันติดต่อกัน และอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากเป็นไข้สูงติดต่อกันหลายวันให้คุณพ่อคุณแม่สงสัยไว้ก่อนเลยว่าจะเป็นไข้เลือดออกและควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที


ระยะต่อมาเรียกว่า ระยะวิกฤต เสี่ยงเป็นระยะอันตรายที่อาจจะเสี่ยงช็อกได้ เป็นช่วงที่ไข้ลดลง แต่จะมีอาการปวดท้อง ตัวเย็น และอาจจะมีจุดแดงตามผิวหนัง ปัสสาวะน้อย ในช่วงระยะนี้ในเด็กบางคนอาจพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ได้ปกติ แต่ก็ยังต้องคอยตรวจวัดชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ รวมถึงดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าไปเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาด้วย เพราะในบางรายที่รุนแรงอาจจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อกและอาจถึงแก่ชีวิตได้


ระยะที่ 3 คือระยะฟื้นตัว อาการของลูกน้อยจะค่อยๆ ดีขึ้น เริ่มมีความอยากอาหารมากขึ้น เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จะพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือฝ่าเท้าอยู่บ้าง

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก

วิธีป้องกันง่ายมาก เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่น่าจะทราบกันดีแล้ว คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงให้หมด และระวังอย่าให้ลูกน้อยโดนยุงกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากยุงลายจะชอบออกหากินตอนกลางวัน จึงควรให้ลูกน้อยนอนในมุ้ง หรือให้เล่นในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ



โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก - โรคมือเท้าปาก

โรคมือ เท้า ปาก โรคนี้ระบาดหนักมากๆ ในช่วงที่เปิดเทอม ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนพอดี มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบได้ในบางรายในเด็กโต และจะพบมาที่สถานที่ที่แออัด อย่างโรงเรียนอนุบาลต่างๆ เป็นต้น สาเหตุหลักๆ มาจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย การไอ จาม หรืออาจจะสัมผัสกับเชื้อทางอ้อม เช่น จับผ่านของเล่น ผ่านมือคุณครูผู้แล เป็นต้น


อาการของโรคมือ เท้า ปาก

เริ่มจากจะมีอาการไข้ อาจะเป็นได้ไข้ต่ำหรือไข้สูง หลังจากนั้น 2 - 3 วัน จะเริ่มมีแผลในปาก ซึ่งเป็นได้รอบปาก ไม่ว่าจะเป็น เพดาน กระพุ้งแก้ม ลิ้น บางครั้งอาจจะลามเป็นแผลที่ริมฝีปากเลยทีเดียว และมีผื่นที่มือ และเท้าตามมา จะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ ตุ่มน้ำใสในบางคน


โรคนี้เป็นโรคที่สามารถหายได้เองใน 5-7 วัน แต่ให้คุณพ่อคุณแม่ระวังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง ก้านสมองอักเสบ แม้จะพบได้น้อยมาก 1-5 รายต่อปี แต่ก็ควรระวังไว้ โดยสังเกตอาการของลูกน้อย หากเริ่มมีอาหารหายใจหอบเหนื่อย หรือมีอาการชักเกร็ง ให้รีบพบแพทย์ทันที


วิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

  • ควรมีกระติกน้ำส่วนตัวให้ลูก เมื่อเขาต้องไปโรงเรียน

  • สอนให้เขาดูแลเรื่องสุขอนามัยต่างๆ ให้ดี ทั้งการล้างมือทั้งก่อนและหลังทานอาหาร หรืออว่าหลังจากเข้าห้องน้ำ ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนให้ทำจนติดเป็นนิสัยจะป้องกันโรคได้มากขึ้น



โรคติดต่อหน้าฝนในเด็ก - โรค RSV


โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส RSV เกิดจากเชื้อไวรัสผ่านทางเดินหายใจ เป็นได้ทุกช่วงวัย แต่จะเป็นกันมากในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี สามารถติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย ทั้ง ไอ จาม น้ำลาย น้ำมูก


อาการของโรค RSV

ในระยะฟักตัว ช่วง 2-4 วันแรก จะเริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ลูกน้อยจะมีไข้ น้ำมูก ไอ จาม หายใจลำบาก แต่มีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตเพิ่มเติม ก็คือ หากลูกมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีเสียงหายใจครืดคราด ไอหนักมาก ๆ รับประทานอาหารหรือนมได้น้อย ซึมลง ปากซีดเขียว ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปพบแพทย์ในทันที เพราะเริ่มมีอาการหนัก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก

วิธีป้องกันโรค RSV คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันทำได้ง่ายมากๆ ทำได้โดยการรักษาความสะอาดให้ดี ล้างมือของคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยบ่อย ๆ เพราะการล้างมือสามารถลดเชื้อที่ติดมากับมือทุกชนิดได้ถึงร้อยละ 70 ให้ลูกน้อยพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พาลูกไปออกกำลังกายบ้าง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายลูกน้อยแข็งแรง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกป่วยไม่ว่าจะเป็นป่วยไข้หวัดหรืออะไรก็ตาม ควรแยกเด็กออกจากเด็กคนอื่น เพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อ และควรหยุดเรียนอย่างน้อย 1- 2 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติ



ขอบคุณข้อมูลจาก : phyathai.com , synphaet.co.th,rama.mahidol.ac.th, bangkokhospital.com

Comments


bottom of page