top of page
Writer's pictureregagar

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก รู้วิธีดูแลที่ถูกต้อง หายขาดได้


ลูกเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ เดี๋ยวผื่นขึ้นที่หน้า ผื่นขึ้นที่ซอกคอ ผื่นขึ้นที่แขนและขา มีอาการคัน หากลูกมีอาการแบบนี้แล้วไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ส่งผลให้เป็นผื่นเรื้อรังและไม่หายขาดได้นะคะ เพราะฉะนั้นมารู้วิธีรักษาและป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกันเลยค่ะ

สาเหตุผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ทั้งจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม มักจะเป็นในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ร้อยละ 50 และมีเพียงอีกร้อยละ 20 ที่ยังมีอาการเรื้อรังต่อจนถึงเป็นผู้ใหญ่

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแบ่งเป็น 3 ระยะ

1. ระยะเฉียบพลัน

2. กึ่งเฉียบพลัน

3. ระยะเรื้อรัง

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะกระจายไปตามวัย เช่น ในเด็กเล็กแรกเกิด - 2 ปี จะพบบริเวณใบหน้า ซอกคอ ด้านนอกของแขนและขา ส่วนเด็กโตจะพบผื่นบริเวณแขนขา

2 ขั้นตอนตรวจผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

การวินิจฉัยโรคคุณหมอจะเลือกการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณาอายุ ประวัติการเริ่มมีผื่น ระยะเวลาที่เป็นผื่น การเกิดผื่นซ้ำ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้


1. การทดสอบทางภูมิแพ้

คุณหมอจะเลือกตรวจในรายที่สงสัยว่ามีประวัติผื่นกำเริบหรือแย่ลง เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนจากสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนจากสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ต้นหญ้า ละอองเกสรดอกไม้ โดยทดสอบทางผิวหนัง (skin prick test) และตรวจด้วยการเจาะเลือด


2. การทดสอบการแพ้อาหาร

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเกี่ยวข้องกับการแพ้อาหาร ซึ่งมักพบในทารกช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะการแพ้โปรตีนนมวัว อาการอาจเกิดได้หลังกินหรือสัมผัสนมวัวทันที หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง ทั้งอาจมีอาการร่วม เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว มีน้ำมูกเป็น ๆ หาย ๆ หายใจดัง มีผื่นลมพิษ ซึ่งการวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือการทดสอบการแพ้อาหารโดยการกิน (Gold standard) สังเกตอาการผิดปกติหลังกินอาหารชนิดนั้น ๆ อาจทำร่วมกับการส่งเลือดตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

วิธีรักษาและป้องกันผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

1. ให้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน จากงานวิจัยพบว่า การให้นมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรก จะช่วยลดการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ โดยเฉพาะในเด็กที่สงสัยว่าแพ้โปรตีนนมวัว เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างสารภูมิคุ้มให้ทารก


2. ดูแลความสะอาด อาบน้ำให้ลูกด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสูตรอ่อนโยน สำหรับเด็กแรกเกิดผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ที่สำคัญไม่ควรอาบนานเกิน 10 นาที และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดให้ลูกน้อย

3. หลังอาบน้ำ ควรทาครีมหรือโลชั่นสูตรอ่อนโยนสำหรับเด็กแรกเกิดผิวแพ้ง่าย เพื่อเพิ่มชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ที่สำคัญห้ามมีสารอันตรายต่อผิวเด็ก เช่น สารกันบูด น้ำหอม สี แอลกอฮอล์ สเตียรอยด์ ซิลิโคน สารช่วยเนื้อครีมข้นขึ้น เป็นต้น เพราะหากปล่อยให้ลูกผิวแห้งก็เป็นต้นเหตุของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้


4. สวมเสื้อผ้าให้ลูกที่ระบายอากาศได้ง่าย เช่น ผ้าฝ้าย ในช่วงที่ลูกมีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแรก ๆ ควรเลี่ยงการสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ฝุ่น สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ต้นหญ้า ละอองเกสรดอกไม้ เพื่อลดการระคายเคือง

3. ใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์

  • หากผื่นรุนแรงควรใช้ยาสเตียรอยด์ ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งปกติควรทาไม่เกิน 5 วัน เพราะการทายาสเตียรอยด์นาน ๆ อาจมีผลข้างเคียงจากยาได้ เช่น ผิวหนังบางลงได้

  • ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จะรักษาโดยใช้ยาทาภายนอก ตามคำแนะนำของแพทย์

  • ใช้ยาแก้แพ้กลุ่มแอนติฮีสตามีน ลดอาการคัน นอกจากนี้อาจมีการรักษาด้วยการฉายแสงและให้ยากดภูมิคุ้มกันร่วมด้วย

  • Wet wrap ใช้รักษาในรายที่มีผื่นรุนแรงและดื้อต่อการรักษา หรือในรายที่มีการกำเริบของโรคอย่างเฉียบพลัน เน้นเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยทาครีมหรอโลชั่นให้ความชุ่มชื้นและทาสเตียรอยด์หลังอาบน้ำ จากนั้นพันด้วยผ้านุ่มที่ชุ่มด้วยน้ำเกลือในชั้นแรก และทับด้วยผ้าแห้ง จากนั้นเปลี่ยนผ้าชั้นแรกที่ชุบด้วยน้ำเกลือทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วงกลางวัน ซึ่งหากพบว่ามีอาการข้างเคียงต้องรีบพาไปพบแพทย์

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหมักจะเป็นโรคเรื้อรัง มีความรุนแรงแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน หากดูแลผิวหนังและเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่น ร่วมกับติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะช่วยให้อาการดีขึ้นเรื่อย ๆ และมีโอกาสที่โรคจะหายขาดได้ค่ะ



Comentários


bottom of page